กรรมฐาน 40
อาตมาขอกล่าวถึงเรื่องอารมณ์ของสมถกรรมฐานมี
40 ห้อง
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต
หรือสิ่งที่ใช้กำหนดให้จิตแน่วแน่
เพื่อให้เกิดสมาธิ คือ
1. กสิณ 10 คือ วัตถุภายนอกที่ใช้ให้เกิดสมาธิ
ก. ภูตกสิณ 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)
ข. วรรณกสิณ 4 คือ นิล (สีเขียว) บีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว)
ค. อาโลโก คือ แสงสว่าง และอากาโส คือ ที่ว่าง
2. อสุภะ 10 คือ สภาพซากศพในสภาพต่าง ๆ กัน 10 แบบ เริ่มตั้งแต่ศพขึ้นอืด ถึงศพเหลือ แต่โครงกระดูก
1. กสิณ 10 คือ วัตถุภายนอกที่ใช้ให้เกิดสมาธิ
ก. ภูตกสิณ 4 คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้ำ) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม)
ข. วรรณกสิณ 4 คือ นิล (สีเขียว) บีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว)
ค. อาโลโก คือ แสงสว่าง และอากาโส คือ ที่ว่าง
2. อสุภะ 10 คือ สภาพซากศพในสภาพต่าง ๆ กัน 10 แบบ เริ่มตั้งแต่ศพขึ้นอืด ถึงศพเหลือ แต่โครงกระดูก
3. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดี ควรระลึกถึงอยู่เสมอ คือ
1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธ
2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม
3. สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์
4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนได้ประพฤติ
5. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาค
6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา
7. มรณสติ ระลึกถึงความตาย เพื่อให้เกิดความไม่ประมาท
8. กายคตาสติ ระลึกถึงร่างกายที่เสื่อมได้ เพื่อไม่ให้หลงมัวเมา
9. อานาปานสติ การใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
10. อุปสมานุสติ การใช้สติกำหนดธรรมเป็นที่สงบ คือนิพพาน
4. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่แผ่ไปในสัตว์มนุษย์โดยทั่วถึงกัน หรือพรหมวิหาร 4 คือ
1. เมตตา ความรัก คือ อยากให้มีความสุขกันทั่วหน้า
2. กรุณา ความสงสาร คือ อยากให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความยินดี คือ ยินดีในความสุขของผู้อื่น
4. อุเบกขา ความเป็นกลาง คือ วางใจสงบ
5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา คือ พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร หรืออาหารเป็นของน่าเกลียด
6. จตุธาตุ ววัฏฐาน คือ พิจารณาร่างกายตนเป็นเพียงธาตุ 4 มารวมกันเท่านั้น
7. อรูป 4 คือ การกำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ใช้เฉพาะผู้ที่ได้จตุตถฌานแล้วคือ
1. อาถาสานัญจายตนะ กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้
2. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญานหาที่สุดมิได้
3. อากิญจญญายตนะ กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย
4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย
มารวมกันเป็นหนทางไปสู่พรหมโลก เทวโลก อันนี้หมายความว่าบุคคลใดมีความประสงค์อยากไปพรหมโลกและเทวโลก ให้เจริญสมถะภาวนา อันเป็นนโยบายทำให้จิตใจสงบเป็นเบื้องต้น ให้ศึกษาเล่าเรียนกับครูอาจารย์ ผู้มีความชำนาญเพื่อจะเลือกเอาอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ในจำนวน 40 นั้น เพื่อจะให้ถูกกับจิตของตน เมื่ออาจารย์แนะนำให้แล้ว จึงลงมือปฏิบัติเช่น อานาปานสติ กรรมฐานถูกกับจิตของตน ก็ต้องเอาอารมณ์นั้น ๆ มาเป็นกรรม ฐาน อานาปานสติ หมายความว่า ใช้สติกำหนดการหายใจเข้าออก เมื่อรู้และเข้าใจลมหายใจชนิดนี้แล้วจึงลงมือนั่งสมาธิ เอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย เอามือ ขวาทับมือซ้าย จะนั่งพับเพียบหรือวางมือไว้บนตักก็ได้แล้วแต่จะสะดวก แต่ไม่ให้หลับตา เพราะกลัวเป็นการง่วงหาวนอน เมื่อเราวางกายให้ตรงแล้วเริ่ม ทำความเพียรด้วยการหายใจออกก็ให้รู้ หายใจเข้าก็ให้รู้และตามสติลมหายใจไปจนกว่าลมหายใจเข้าถึงท้อง เราต้องกำหนดให้รู้ว่าลมหายใจไปถึงไหน และมันมีกริยาอาการแสดงออกมาเป็นอย่างไรอยู่ในร่างกายของเราก็ให้รู้ พิจารณาฝึกฝนไปจนกว่าจะมีความชำนิชำนาญยังสมาธิให้เกิด คือ อุปจาร สมาธิ ซึ่งสมาธิเข้าฌานได้เบื้องต้น หมายความว่า จิตมีการไปไปมามา ชั่วระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจิตก็จะไม่ไปไม่มา พอจิต คือความรู้ มาเป็นอารมณ์อัน เดียวกับลมหายใจแล้ว มีความวิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกัคคตาธรรมเกิดขึ้น วิตกธรรมชาติที่มาปลาบปลื้มอิ่มอกอิ่มใจเป็นสุข สุคติธรรมชาติ สบายกาย สบายใจ เอกัคคตาธรรมชาติที่เป็นอารมณ์เดียวกันคือ สมาธิอันแน่นอน “โยคาวาจร” ผู้นั้นได้ชื่อว่าได้ปฐมฌานและสามารถประหารนิวรณ์ทั้ง 5 ได้ คือ
1. วิตก สามารถประหารถีนมิทธะนิวรณ์ คือ ความง่วงเหงา หาวนอน ท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ให้สงบลงได้
2. วิจาร สามารถประหารวิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ความสงสัยลังเลให้สงบลงได้
3. ปีติ สามารถประหารพยาบาทนิวรณ์ คือ ความปองร้ายคนอื่นให้สงบลงได้
4. สุข สามารถประหารอุทธัจจกุกกุจจะนิวรณ์ คือ ความฟุ้งซ่าน (โลเล) เลื่อน ๆ ลอย ๆ ไม่แน่นอนให้สงบลงได้
5. เอกัคคตา สามารถประหารกามฉันทะนิวรณ์ คือ ความมัวเมาในกามารมณ์ให้สงบลงได้
ถ้าบุคคลใด ประสงค์อยากปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน สมควรอย่างยิ่งต้องเรียนรู้เสียก่อน ถ้าเพียรพยายามต่อไป สามารถทำให้ฌานอื่น ๆ เกิดขึ้น เพราะจิตได้สมาธิ รู้จักนิฏฐารมณ์ ถ้าจิตประสงค์เพียรต่อไปอีก ก็จะได้ปัญจกัชฌาน 5 มีดังนี้คือ
1. ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา หมายความว่าจิตได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่ง
2. ทุติยฌาน มีองค์ 4 คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จิตไม่มีความสงสัย (กังขา)
3. ตติยฌาน มีองค์ 3 คือ ปิติ สุข เอกัคคตา จิตอยู่ในความพอดีพอใจ
4. จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา จิตได้อยู่ในความสงบ
5. ปัญจมฌาน มีองค์ 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา เพราะจิตได้ปลงว่างเสีย
จาตุกัญยฌาณ 4
1. วิตก ปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา คือ เหตุผลเป็นไปตามความเป็นจริง
2. ทุติยฌาน มีองค์ 3 คือ ปิติ สุข เอกัคคตา คือ สมบูรณ์ด้วยความพอใจ
3. ตติยฌาน มีองค์ 2 คือ สุข เอกัคคตา คือ ความสุขควรจะเป็นไปตามหลักธรรมของความเป็นจริง
4. จตุตถฌาน มีองค์ 2 คือ มีอุเบกขา เอกัคคตา คือ ความปลงวาง เห็นว่าควรปลงหรือไม่ควรปลง
ปัญจกัญฌาน 5 เหมาะแก่ผู้มีความเพียรน้อย แต่ไม่ใช่อ่อนแอ จตุกัญยฌาน 4 เหมาะแก่ผู้มีปัญญาแก่กล้า คือ ผู้มีจิตเข้มแข็ง
บุคคลใดเลื่อมใส และประสงค์อยากเรียนสมถกรรมฐาน หวังผลไปเกิดในพรหมโลก ไม่ว่าจะเป็น บรรพชิต หรืออุบาสก อุบาสิกา ถ้าปฏิบัติถึง ฌาน 4 หรือ ฌาน 5 บุคคลนั้นได้ชื่อว่า มีจิตสงบ ปราศจากความกระวนกระวายในนิวรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น และด้วยอำนาจของการปฏิบัติวิปัสสนาจะเป็น ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดเชี่ยวชาญ ในกิริยาอาการต่าง ๆ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ดังในพุทธภาษิตได้กล่าวไว้ว่า
จิตตังสะธัมโธ สาธุ แปลว่า การฝึกฝนจิต เป็นของดี ซึ่งหมายความว่า คนเราจะมีคุณงามความดีได้ก็เพราะ การฝึกฝนและอบรมบ่มนิสัยของตน ก็อยู่ที่จิตทั้งนั้นละ ด้วยเหตุนี้ในทางพระพุทธศาสนาจึงมีการอบรมจิตเหมือนดังที่อาตมาได้เพียรพยายามค้นหาแล้วเอามาพรรณนาให้ท่านสาธุชนผู้ เจริญทั้งหลายได้สดับรับฟังกัน
หลักธรรมปรมัตถ์
พระพุทธศาสนา
ได้จัดตั้งหลักธรรมอันสำคัญและละเอียดอ่อนไว้เป็นปรมัตถธรรม
ถ้าบุคคลใดอยากรู้ธรรมอันละเอียดอ่อนนี้
ควรเข้ามาปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อทำให้จิตเกิดความว่าง
เมื่อความว่างเกิด
จิตก็เข้าถึงปรมัตถธรรม
อันเป็นหนทางไปยังพระนิพพาน
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์ได้ปฏิบัติมาแล้ว
จึงได้บัญญัติไว้ในพุทธศาสนาเพื่อให้ทุกท่านได้เอาเป็นแบบอย่าง
และปฏิบัติต่อไป
ขันธ์ 5 หรือ รูปธรรม และนามธรรม 5 หมวด
คำที่ว่า ขันธ์ 5 หรือรูปธรรมนามธรรม 5 หมวดอย่างแท้จริง คือส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต
1. รูปขันธ์ มีลักษณะแตกดับด้วยความเย็น ร้อน ของคนเรา
2. เวทนาขันธ์ มีลักษณะเสวยอารมณ์ เป็นส่วนที่มาทำให้คนเรารู้ถึงความสุข หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้น
3. สัญญาขันธ์ มีลักษณะจำอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวคนเรา
4. สังขารขันธ์ มีลักษณะปรุงแต่งทำให้รักหรือทำให้เกลียด หรือทำให้คนเราเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข เนื่องจากว่า การปรุงแต่งมาจากสังขารนี้เอง
5. วิญญาณขันธ์ มีลักษณะรู้อารมณ์ คำว่ารู้ หมายความว่า รู้รูปภาพอันละเอียด คือ การเคลื่อนไหว ไป มา การเปลี่ยนอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องอาศัย ธาตุทั้ง 4 คือ
1. ปฐวีธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความนิ่มหรือแข็งเป็นลักษณะทรงไว้ มีจำนวน 240,000 โยชน์ อยู่ในตัวมนุษย์
2. อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุน้ำ ในตัวคนเรามีจำนวนถึง 480,000 โยชน์ ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความชุ่มชื้น ไหลซึม มีอาการน้อมลงไป
3. เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุไฟในตัวของเราซึ่งมีอยู่ถึง 96,000 โยชน์ ที่มาทำให้มีความอบอุ่น ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความร้อน และเย็น เป็นลักษณะซึ่งทรงไว้ สภาวะอันฟูขึ้น
4. วาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุลม มีจำนวน 1,920,000 อยู่ในตัวเรา ทรงไว้ซึ่งการไหว มีลักษณะหวั่นไหวไปมา
ธาตุ 4 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างว่ามหาภูต หรือภูตรูป 4 แปลว่าประโยคใหญ่หรือ ผีปิศาจใหญ่ คำว่าประโยค คือ ดิน อันหมายถึง ธาตุดิน ในตัวของ เราซึ่งมีความหนาได้ 240,000 โยชน์
ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นมหาภูติรูปอีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ประโยคใหญ่หรือผีปิศาจใหญ่ คำที่ว่าใหญ่หมายความว่า เจ้าเล่ห์ มารยา หลอกลวง ทำให้ คนทั้งหลายหลงใหลเชื่อว่า เป็นน้ำใสใจจริง เป็นเทพบุตร เทพธิดา แสดงมารยาให้คนอื่นเห็นว่าเป็นคนวิเศษ เพราะเหตุนี้เรียกว่า มหาภูต อันแท้จริงแล้ว ก็คือ ผี นี่เอง ร่างกายมนุษย์ทุก ๆ คน เหมือนผี หรือเป็นผี ผีมีลักษณะหลอกลวง หลอกลวงคือไม่จริง ไม่มีตัวตนและมีผี 2 ประเภทคือ ผีข้างนอกและผี ข้างใน ผีข้างนอก ได้แก่ ผีมเหศักดิ์หลักเมือง ส่วนผีข้างในได้แก่ ร่างกายของเรา ซึ่งเราต้องเลี้ยงดูอย่างน้อยวันหนึ่ง 2-3 มื้อ คือ ตอนเช้า ตอนเที่ยง และ ตอนเย็น ถ้าหากเราไม่เลี้ยงดูมันให้ดี มันก็จะแสดงกิริยาออกมาให้เห็น เช่น ภรรยา สามี ทะเลาะกัน ลูกเต้าทะเลาะกัน เราเป็นทาสของผีตัวนี้ล่ะ เรา ต้องเอา ใจใส่ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีกลิ่น รส โผฎฐัพพะและธรรมารมณ์ จัดรวมเข้ากันเป็น กามคุณทั้ง 5 นี้เอง
รูปธรรม นามธรรม และผลเมื่อทวารกับอารมณ์มากระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป มากระทบจัดเข้าเป็นรูปธรรม ส่วนเห็นเป็นนามธรรม หมายถึงรูป นาม เกิดในทวารทั้ง 6 เมื่อจะดับก็ดับอยู่ในทวารทั้ง 6 นี้เอง ไม่ได้ไปดับอยู่ที่อื่น เช่น ตาเห็นรูป นามธรรมก็เกิด รูปธรรมเกิดทางตา ได้ยินเสียง รูปธรรม เกิด นามธรรมเกิดทางหู ได้กลิ่น รูปธรรมเกิดทางจมูก ได้รส รู้รส รูปธรรม นามธรรมเกิดทางใจ เมื่อเข้าใจในรูปธรรม นามธรรมอันเป็นพระปรมัตถธรรม หมายความว่า เราเรียนรู้รูปธรรม นามธรรมแล้วให้เอามาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา และก็ให้เพียรพยายามต่อ ๆ ไป ซึ่งท่านจะทำอยู่ที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็น ต้องเลือกสถานที่ เพราะสำคัญอยู่ที่จิต เมื่อเราเห็นว่าได้โอกาสแล้วก็ลงมือปฏิบัติทันที และเพียรพยายามต่อไป
เบื้องต้นให้ไหว้พระ สวดมนต์ เสียก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาตั้งสติ ดูรูปธรรม นามธรรม คือ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้เอาสติกำหนดรู้ เสมอว่า เป็นรูปธรรม นามธรรมเท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวเป็นตนทั้งหมด ไม่ได้เป็นบุคคลหรือสัตว์ ไม่ได้เป็นตัวเราตัวเขา แต่กำหนดให้รู้การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย อาการเคลื่อนไหวเท่านั้น เมื่อทวารกับอารมณ์มากระทบกัน ก็ให้มีสติกำหนดรู้แต่เท่านั้น ส่วนได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้รส ตลอดถึงอ่อน นิ่ม แข็ง ให้มีสติระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ใช่เขาหรือไม่ใช่เรา ได้ยินได้ฟังนั้นคือรู้รูปธรรม ผู้ได้เห็น ได้ยิน เป็นนามธรรม รวมความแล้วให้พยายามดูที่ตัวเจ้า ของเอง จะเป็นการนั่งก็ดี การเดินก็ดี ให้เห็นเป็นของสังขารอยู่เสมอ คำที่ว่าดูหมายถึงเอาจิตเข้ามาดูข้างในร่างกายของเรา ให้ดูเป็นเนืองนิตย์ เมื่อเรา ฝึกหัด อบรมจิตสติให้เกิดปัญญาปัจจุบันแล้ว เราก็สามารถรู้แจ้งเห็นชัด ในรูปธรรม นามธรรม ความเป็นจริงในกายของเรานี้ หมายถึง เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่าเบื่อหน่าย จิตไม่ยินดี เป็นอิสระแล้วก็ดับไป ไม่ให้เกิด เมื่อเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ให้ละ ไม่ให้เอาไว้ คำว่าถืออารมณ์ แห่งมติกาธรรมะสังขะนิ นั้นว่าอารมณ์ของจิตมี 3 อย่างคือ
1. ฉันชาญนัง คือ รู้
2. วิชาญนัง คือ รู้แจ้ง
3. ปะชาญนัง คือ รู้ชัดแท้
ใน 3 อย่างนี้ ฉันชาญนังเป็นกิจจะแห่งสัญญา ความจำ หมายถึงรู้ วิชาญนัง เป็นกิจจะแห่งวิญญาณ ความรู้แจ้ง ปะชาญนังเป็นกิจจะแห่ง ปัญญา ความรู้ เท่านั้น จึงได้กล่าวสรุปว่า จิตทำหน้าที่ 2 อย่างแรก ทำอย่างละ 3 ครั้ง คือ
1. นึกคิด
ก. คิด ด้วยอำนาจพิจารณาวิตก
ข. คิดด้วยอำนาจความรู้แจ้งด้วยวิญญาณ
ค. คิดด้วยอำนาจความรู้เป็นแน่ชัดด้วยปัญญา
2. ทำหน้าที่ถืออารมณ์
ก. หมายความว่ารู้ สัญญา
ข. รู้แจ้งวิญญาณ
ค. รู้แน่ชัดด้วยปัญญา ไปสู่วิถีจิตตามแนวอภิธรรม มัตถสังขะพะอีกต่อไป
ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจกับอารมณ์ของจิตเสียก่อน ซึ่งตามแนวอภิธรรมมี 4 อย่างคือ
1. อะหิมะหันตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาที่สุด
2. มหันตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาพอสมควร
3. ปริตตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาพอควร
4. ขะนะจิตอารมณ์ อารมณ์ที่ 4 ย่อมปรารถนาในทวารทั้ง 5 เสมอ แบ่งออกเป็น 5 ตามทวารคือ
1. จักขุทวาร มีรูปเป็นอารมณ์
2. โสตทวาร มีเสียงเป็นอารมณ์
3. ฆานทวาร มีกลิ่นเป็นอารมณ์
4. ชิวหาทวาร มีรสเป็นอารมณ์
5. กายทวาร มีโผฏฐัพพะ สัมผัส ถูกต้องเป็นอารมณ์
From : http://www.luongta.com/Inside1Html/tha/chapt21.htm
ขันธ์ 5 หรือ รูปธรรม และนามธรรม 5 หมวด
คำที่ว่า ขันธ์ 5 หรือรูปธรรมนามธรรม 5 หมวดอย่างแท้จริง คือส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต
1. รูปขันธ์ มีลักษณะแตกดับด้วยความเย็น ร้อน ของคนเรา
2. เวทนาขันธ์ มีลักษณะเสวยอารมณ์ เป็นส่วนที่มาทำให้คนเรารู้ถึงความสุข หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้น
3. สัญญาขันธ์ มีลักษณะจำอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวคนเรา
4. สังขารขันธ์ มีลักษณะปรุงแต่งทำให้รักหรือทำให้เกลียด หรือทำให้คนเราเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข เนื่องจากว่า การปรุงแต่งมาจากสังขารนี้เอง
5. วิญญาณขันธ์ มีลักษณะรู้อารมณ์ คำว่ารู้ หมายความว่า รู้รูปภาพอันละเอียด คือ การเคลื่อนไหว ไป มา การเปลี่ยนอริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ต้องอาศัย ธาตุทั้ง 4 คือ
1. ปฐวีธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความนิ่มหรือแข็งเป็นลักษณะทรงไว้ มีจำนวน 240,000 โยชน์ อยู่ในตัวมนุษย์
2. อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุน้ำ ในตัวคนเรามีจำนวนถึง 480,000 โยชน์ ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความชุ่มชื้น ไหลซึม มีอาการน้อมลงไป
3. เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุไฟในตัวของเราซึ่งมีอยู่ถึง 96,000 โยชน์ ที่มาทำให้มีความอบอุ่น ซึ่งมาทรงไว้ซึ่งความร้อน และเย็น เป็นลักษณะซึ่งทรงไว้ สภาวะอันฟูขึ้น
4. วาโยธาตุ ได้แก่ ธาตุลม มีจำนวน 1,920,000 อยู่ในตัวเรา ทรงไว้ซึ่งการไหว มีลักษณะหวั่นไหวไปมา
ธาตุ 4 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างว่ามหาภูต หรือภูตรูป 4 แปลว่าประโยคใหญ่หรือ ผีปิศาจใหญ่ คำว่าประโยค คือ ดิน อันหมายถึง ธาตุดิน ในตัวของ เราซึ่งมีความหนาได้ 240,000 โยชน์
ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นมหาภูติรูปอีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ประโยคใหญ่หรือผีปิศาจใหญ่ คำที่ว่าใหญ่หมายความว่า เจ้าเล่ห์ มารยา หลอกลวง ทำให้ คนทั้งหลายหลงใหลเชื่อว่า เป็นน้ำใสใจจริง เป็นเทพบุตร เทพธิดา แสดงมารยาให้คนอื่นเห็นว่าเป็นคนวิเศษ เพราะเหตุนี้เรียกว่า มหาภูต อันแท้จริงแล้ว ก็คือ ผี นี่เอง ร่างกายมนุษย์ทุก ๆ คน เหมือนผี หรือเป็นผี ผีมีลักษณะหลอกลวง หลอกลวงคือไม่จริง ไม่มีตัวตนและมีผี 2 ประเภทคือ ผีข้างนอกและผี ข้างใน ผีข้างนอก ได้แก่ ผีมเหศักดิ์หลักเมือง ส่วนผีข้างในได้แก่ ร่างกายของเรา ซึ่งเราต้องเลี้ยงดูอย่างน้อยวันหนึ่ง 2-3 มื้อ คือ ตอนเช้า ตอนเที่ยง และ ตอนเย็น ถ้าหากเราไม่เลี้ยงดูมันให้ดี มันก็จะแสดงกิริยาออกมาให้เห็น เช่น ภรรยา สามี ทะเลาะกัน ลูกเต้าทะเลาะกัน เราเป็นทาสของผีตัวนี้ล่ะ เรา ต้องเอา ใจใส่ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีกลิ่น รส โผฎฐัพพะและธรรมารมณ์ จัดรวมเข้ากันเป็น กามคุณทั้ง 5 นี้เอง
รูปธรรม นามธรรม และผลเมื่อทวารกับอารมณ์มากระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป มากระทบจัดเข้าเป็นรูปธรรม ส่วนเห็นเป็นนามธรรม หมายถึงรูป นาม เกิดในทวารทั้ง 6 เมื่อจะดับก็ดับอยู่ในทวารทั้ง 6 นี้เอง ไม่ได้ไปดับอยู่ที่อื่น เช่น ตาเห็นรูป นามธรรมก็เกิด รูปธรรมเกิดทางตา ได้ยินเสียง รูปธรรม เกิด นามธรรมเกิดทางหู ได้กลิ่น รูปธรรมเกิดทางจมูก ได้รส รู้รส รูปธรรม นามธรรมเกิดทางใจ เมื่อเข้าใจในรูปธรรม นามธรรมอันเป็นพระปรมัตถธรรม หมายความว่า เราเรียนรู้รูปธรรม นามธรรมแล้วให้เอามาเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา และก็ให้เพียรพยายามต่อ ๆ ไป ซึ่งท่านจะทำอยู่ที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็น ต้องเลือกสถานที่ เพราะสำคัญอยู่ที่จิต เมื่อเราเห็นว่าได้โอกาสแล้วก็ลงมือปฏิบัติทันที และเพียรพยายามต่อไป
เบื้องต้นให้ไหว้พระ สวดมนต์ เสียก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาตั้งสติ ดูรูปธรรม นามธรรม คือ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้เอาสติกำหนดรู้ เสมอว่า เป็นรูปธรรม นามธรรมเท่านั้น ไม่ได้เป็นตัวเป็นตนทั้งหมด ไม่ได้เป็นบุคคลหรือสัตว์ ไม่ได้เป็นตัวเราตัวเขา แต่กำหนดให้รู้การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย อาการเคลื่อนไหวเท่านั้น เมื่อทวารกับอารมณ์มากระทบกัน ก็ให้มีสติกำหนดรู้แต่เท่านั้น ส่วนได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้กลิ่น ได้รส ตลอดถึงอ่อน นิ่ม แข็ง ให้มีสติระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ใช่เขาหรือไม่ใช่เรา ได้ยินได้ฟังนั้นคือรู้รูปธรรม ผู้ได้เห็น ได้ยิน เป็นนามธรรม รวมความแล้วให้พยายามดูที่ตัวเจ้า ของเอง จะเป็นการนั่งก็ดี การเดินก็ดี ให้เห็นเป็นของสังขารอยู่เสมอ คำที่ว่าดูหมายถึงเอาจิตเข้ามาดูข้างในร่างกายของเรา ให้ดูเป็นเนืองนิตย์ เมื่อเรา ฝึกหัด อบรมจิตสติให้เกิดปัญญาปัจจุบันแล้ว เราก็สามารถรู้แจ้งเห็นชัด ในรูปธรรม นามธรรม ความเป็นจริงในกายของเรานี้ หมายถึง เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่าเบื่อหน่าย จิตไม่ยินดี เป็นอิสระแล้วก็ดับไป ไม่ให้เกิด เมื่อเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ให้ละ ไม่ให้เอาไว้ คำว่าถืออารมณ์ แห่งมติกาธรรมะสังขะนิ นั้นว่าอารมณ์ของจิตมี 3 อย่างคือ
1. ฉันชาญนัง คือ รู้
2. วิชาญนัง คือ รู้แจ้ง
3. ปะชาญนัง คือ รู้ชัดแท้
ใน 3 อย่างนี้ ฉันชาญนังเป็นกิจจะแห่งสัญญา ความจำ หมายถึงรู้ วิชาญนัง เป็นกิจจะแห่งวิญญาณ ความรู้แจ้ง ปะชาญนังเป็นกิจจะแห่ง ปัญญา ความรู้ เท่านั้น จึงได้กล่าวสรุปว่า จิตทำหน้าที่ 2 อย่างแรก ทำอย่างละ 3 ครั้ง คือ
1. นึกคิด
ก. คิด ด้วยอำนาจพิจารณาวิตก
ข. คิดด้วยอำนาจความรู้แจ้งด้วยวิญญาณ
ค. คิดด้วยอำนาจความรู้เป็นแน่ชัดด้วยปัญญา
2. ทำหน้าที่ถืออารมณ์
ก. หมายความว่ารู้ สัญญา
ข. รู้แจ้งวิญญาณ
ค. รู้แน่ชัดด้วยปัญญา ไปสู่วิถีจิตตามแนวอภิธรรม มัตถสังขะพะอีกต่อไป
ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจกับอารมณ์ของจิตเสียก่อน ซึ่งตามแนวอภิธรรมมี 4 อย่างคือ
1. อะหิมะหันตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาที่สุด
2. มหันตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาพอสมควร
3. ปริตตะรมณ์ อารมณ์ปรารถนาพอควร
4. ขะนะจิตอารมณ์ อารมณ์ที่ 4 ย่อมปรารถนาในทวารทั้ง 5 เสมอ แบ่งออกเป็น 5 ตามทวารคือ
1. จักขุทวาร มีรูปเป็นอารมณ์
2. โสตทวาร มีเสียงเป็นอารมณ์
3. ฆานทวาร มีกลิ่นเป็นอารมณ์
4. ชิวหาทวาร มีรสเป็นอารมณ์
5. กายทวาร มีโผฏฐัพพะ สัมผัส ถูกต้องเป็นอารมณ์
From : http://www.luongta.com/Inside1Html/tha/chapt21.htm
0 comments:
Post a Comment