Wednesday, July 18, 2012

วิปัสสนาญาณ 16


เมื่อได้ปฏิบัติตามแนวมหาสติปัฏฐาน 4 คือ มีสติกำหนดรู้รูปนามที่เป็นปัจจุบัน โดยไม่ขาดสายตลอดกาล ดังที่อาตมาได้กล่าวมาแล้วนั้นทุกประ การ วิปัสสนาญาณ 16 ย่อมเกิดขึ้นได้ แก่ผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ได้ตรัสไว้ให้ดีแล้วทุกประการ ผู้ปฏิบัติตามลำดับได้มีไว้ ดังนี้ ผู้บรรลุพิเศษในภาคโลกุตตระ คือ มรรคผล นิพพาน ได้แก่ ผู้บรรลุปฏิเวธสัทธรรม เป็นอริยบุคคล คือ เป็นผู้ประเสริฐไกลจากกิเลส ความเป็นปุถุชน ได้สิ้นสุดไป มรรคญาณได้เกิดขึ้นมาพร้อมกัน ฉะนั้นอาตมาจะได้กล่าวถึง โลกียปัญญา สืบต่อไป
1. นามรูป ปริจเฉทญาณ ปัญญารู้รูปนาม แน่ใจว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 อย่างคือ รูปธรรม สิ่งที่แสดงให้รู้ นามธรรม สิ่งที่เข้าใจรู้ โดยอาศัย ทวารประตูทั้งหก ขณะอารมณ์จากภายนอกมากระทบ
2. นามรูป เป็นปัจจยปริคคหญาณ ปัญญารู้จัก เป็นปัจจัย ของนาม รู้ว่านาม-รูป ต่างก็เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

3. สัมมสนญาณ ได้เป็น อนัตตา บังคับไม่ได้จะต้องเป็นไปตามกฎของมัน เพราะรูป-นาม รวมกันเกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป เป็นธรรมชาติเสมอ เมื่อผู้ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้วมีสติตั้งมั่นอยู่ โมหะก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะถูกสติบังคับควบคุมอยู่ตลอด
4. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เห็นรูป-นาม ทั้งหลาย เกิด-ดับ พร้อมกัน ผู้ทำวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ รูปดับ นามดับพร้อมกัน ปัจจุบันไม่เอาไป ผสมกับอดีต อนาคตให้กำหนดรู้รูปนาม แจ้งชัดทำให้รู้เห็นไตรลักษณ์ ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย รู้แต่ปรมัตถ์ ไม่มีสติสืบเนื่องเลยไปถึงบัญญัติเหล่านี้ เป็นต้น
5. ภังคานุปัสสนาญาณ มีปัญญาเห็นแตกดับไปอย่างละเอียดขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจความเกิดขึ้นดับไป ทั้งรูปและนาม พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง อุปมาคือ 2 คนกอดคอกันลับหายไป กำลังศรัทธา วิริยะ ความเพียร ทำให้สมาธิสติปัญญาแก่กล้าขึ้นไป
6. ภยตูปัฏฐานญาณ มีปํญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นไฟน่ากลัว เมื่อทำวิปัสสนา เห็นรูปนามดับไป เพราะไม่ปราศจากสติ มีความเพียรติดต่อกัน เป็นปัญญาเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาปรากฏติดอยู่กับรูปนามเสมอ ย่อมเห็นความดับไปของรูปนามเป็นกองไฟใหญ่ เห็นแล้วน่ากลัว ถ้าไม่รู้วิปัสสนา ก็ไม่รู้ที่จะพิจารณามัน
7. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นรูปนามดับไปเป็นทุกข์ เป็นโทษ ไม่มีความปรารถนายึดมั่นในรูปนาม แม้แต่น้อยนิด
8. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามดับไปน่าเบื่อหน่าย ผู้เจริญวิปัสสนาเมื่อถึงนิพพิทาญาณ เห็นรูปนามเกิดดับ ไม่มีความยินดี เหมือนกับบุคคลผู้แต่งกายสะอาดแล้วย่อมเบื่อหน่ายสะอิดสะเอียนต่อของสกปรก ย่อมยินดีอยู่กับของสะอาดบริสุทธิ์เท่านั้น
9. มุญจิตุกัมยตาญาณ ผู้มีปัญญาเห็นรูปนามเกิดดับ อยากจะไปให้พ้นจากรูปนาม ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนถึง มุญจิตุกัมยตาญาณ ก็อยากจะพ้น จากรูปนามที่ดับไปสิ้นไปนั้น
10. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปํญญาเห็นรูปนามเกิดดับ หาทางหนีจากรูปนาม เมื่อวิปัสสนาสามารถเห็นรูปนามเกิดดับ เห็นไตรลักษณ์ปรากฏ ติดอยู่กับรูปนาม มีรูปนามเป็นของรับรองไว้ เมื่อนั้นย่อมเห็นไฟ เห็นโทษ เป็นที่น่าเบื่อหน่าย อยากจะหนีให้พ้นโดยอนุโลม แล้วพิจารณาทางที่เป็นอุบาย ที่วางรูปนาม อุปมาก็คือบุคคลคิดจะจับปลาตามสุ่ม จับได้ก็มีแต่ความดีใจ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเมื่อรู้รูปนามแจ้งชัดก็ไม่ถือว่าเป็นตนเป็นตัว ก็คือ บุคคลที่จับ สุ่มอยู่ในน้ำ สำคัญนักหนาดีอกดีใจแล้วว่าจะได้ปลา แต่เมื่อดูรูปนามไปจนเห็นเกิดดับไม่เที่ยง เป็นทุกข์บังคับไม่ได้ ก็มีแต่ความตกใจเห็นโทษ น่าเบื่อหน่าย เหมือนบุคคลที่ยกมือขึ้นจากสุ่มไม่ได้ปลานั่นละ อยากจะกลับบ้าน หนีพ้นจากหนองน้ำเสียที
11. สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาเห็นว่าไม่มีเป็นของตน คงจะมีแต่ความว่างเท่านั้น ส่วนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ใช่ของเราไม่ใช่ของ เขา ถ้าหากว่าเราปลงได้แล้วก็ไม่มีทุกข์ แต่ยังไม่ทันหมดทุกข์ได้ยังมีทุกข์อีก คือ ทุกข์มาจากธรรมชาติ คือ เกิด, แก่, เจ็บ, และตาย นี่คือความทุกข์อันแท้ จริง เป็นแหล่งสุดท้ายของความทุกข์ที่เรามี อาตมากล่าวมานี้เป็นความจริงทั้งนั้น ถ้าอยากรู้ก็พากันทำวิปัสสนาดูแล้วก็จะรู้ด้วยตนเองว่า จริงหรือไม่ก็ จะรู้เอง เพราะพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงสอนไว้ว่า “โอปนยิโก” แปลว่า น้อมเข้ามา ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนคนเดียวเท่านั้น คนอื่นหารู้ได้ไม่ ใครปฏิบัติ ธรรมคนนั้นย่อมรู้เอง รู้ว่าสังขารรูปนามนั้น ถ้าหากว่าเราได้สงบแล้วก็จะเห็นแจ้งแห่งพระนิพพาน ถ้ายังไม่รู้แจ้งพระนิพพาน ก็เพราะเราหลงอยู่ในรูป นาม ว่างามอย่างนั้น สวยอย่างนี้ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้
12. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ มีปัญญาเห็นรูปนามดับไปจะมีกำลังดียิ่งขึ้นได้ตามอำนาจของอริยสัจ สามารถกำจัดความมืดที่มา ปกคลุมอยู่ให้หมดไป รู้อริยสัจได้ก็ต่อเมื่อวิปัสสนาญาณเจริญยิ่งๆขึ้นตามลำดับ โดยอนุโลม ปฏิโลมกลับไปและกลับมาตั้งแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณ รู้รูปนาม รู้ทุกข์อริยสัจชัดแจ้งเป็นความจริงที่ไกลจากกิเลส เห็นรูปนามดับไปเป็นอารมณ์ ดังที่อาตมาได้อธิบายมาแล้วนั้น เป็นความจริงตามหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้ง 3 พระคัมภีร์
13. โคตรภูญาณ ปัญญาที่รู้นิพพานทำลายโคตรปุถุชน ความรู้น้อมไปสู่พระนิพพาน ความดับ รูปนามไม่เกิด อนุโลมญาณเป็นปัญญาที่สามารถ ทำลายกิเลสที่ปิดบังความจริงไว้ได้ แต่ไม่สามารถเห็นนิพพานได้เป็นปัจจัยส่งให้โคตรภูญาณ โคตรภูญาณนี้สามารถน้อมไปสู่นิพพานได้แต่ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้ ทำหน้าที่โอนโคตรจากปุถุชน ไปสู่อริยโคตรได้โดยมีวิปัสสนาเป็นปัจจัย เมื่อโคตรภูญาณเกิดขึ้นทำหน้าที่ของตนหมดแล้วก็ดับไป ญาณ ในโลกุตตระ คือ มรรคญาณ ผลญาณโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นติดต่อกันไป ซึ่งไม่มีระหว่างขันธ์ตามลำดับแห่งมรรคชวนะวิถี อุปมาเหมือน บุรุษจะข้ามคลองน้ำ วิ่งมาด้วยกำลังแรงจับเถาไม้ที่ผูกติดอยู่กับต้นไม้ แล้วเหวี่ยงตัวให้ข้ามไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง แล้วปล่อยเถาไม้เสีย แล้วมาตั้งตัวให้เป็น ปกติก็สบาย รู้สึกว่าตัวเองได้ข้ามพ้นคลองน้ำสำเร็จแล้ว การปล่อยเถาไม้นั้นก็คือ ตัดเชื้อชาติปุถุชน การตั้งตัวให้เป็นปกติก็เท่ากับได้ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล
14. มรรคญาณ ปัญญาในโสดาปฏิมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหันตมรรค กำจัดกิเลสตามฐานะของตน โดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ เหมือนกัน
15. ผลญาณ ปัญญาในโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหันตผล ซึ่งเกิดขึ้นติดกันกับมรรคจิตของซึ่งกันและกัน โดยไม่มีระหว่างขันธ์ และนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนกัน
16. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาที่เกิดขึ้น พิจารณามรรคผลนิพพานกิเลสที่ละได้แล้วและยังเหลืออยู่ตามอำนาจของมรรคผลนั้นๆ อานิสงส์ของ การปฏิบัติวิปัสสนาอย่างต่ำก็ทำให้คนเลวกลายเป็นคนดีได้ ทำให้คนที่มีความดีอยู่แล้วนั้น ให้ทำความดียิ่งๆขึ้นไป ทำให้คนโง่กลายเป็นคนฉลาด รู้แจ้ง ในกรรมเลว แล้วเลิกอบายมุขทั้งหลาย จะเกิดเป็นคนขยันหมั่นเพียรต่อการงาน อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นพร้อมด้วยสังคม และพระพุทธศาสนา มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ผู้มีพระคุณ มีสติมั่นคงในการทำคุณงามความดี มีอุปนิสัยแก่กล้าก็สามารถเข้าถึงมรรคผล และรู้แจ้งแห่งทางไปพระนิพพาน ได้ตามวินิจฉัยของตน
อาตมาขอสรุปใจความทั้งหมด ธรรมะวิปัสสนาที่ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ คือ วิปัสสนาภูมิ 6 อันมีธรรมะและกฏระเบียบนั้นไม่ได้อยู่ที่อื่น แต่อยู่ที่ ตัวของบุคคล ซึ่งตัวบุคคลก็คือเราเอง ไม่ใช่คนอื่น เราจะยอมปฏิบัติตามหรือไม่ ธรรมะไม่ได้อยู่กับพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสวงหา เห็นแล้ว พระองค์จึงเอามาเผยต่อเวไนยสัตว์ มีพระสงฆ์เป็นผู้รับช่วงต่อแนะนำสั่งสอนตามหลักพระธรรมวินัย และกฏระเบียบที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ และมี พุทธานุญาตให้ใช้ แต่เราจะยอมใช้และปฏิบัติตามหรือไม่ พระบาลีได้ทรงตรัสไว้ว่า อัสโสปัสโส ได้ใจความว่า หายใจเข้าเป็นพระวินัย หายใจออกเป็น พระสูตร พระปรมัตถ์เป็นผู้รู้อยู่ข้างใน รักษาไม่ให้แตกดับ ไม่ให้วุ่นวาย ไม่ให้ทำความเลว ไม่ให้ทำความเสียหาย พระบาลียังทรงตรัสไว้อีกว่า สะบัญญัติ โยขันทะบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ พระองค์ทรงบัญญัติ ธาตุน้ำ, ธาตุดิน, ธาตุไฟ, ธาตุลม นี้ไว้กับตัวบุคคล ถ้าหากว่าไม่มีธาตุทั้ง 4 นี้ มนุษย์และสัตว์ก็ไม่สามารถอยู่ได้ จะต้องตายหมด ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้คือ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้แจ้ง และก็สั่งสอนให้เราชาวพุทธบริษัท เข้าใจและ ปฏิบัติเอาเอง พระองค์ไม่ได้บัญญัติไว้ตามต้นไม้หรือภูเขา และตามสถานที่ใดที่หนึ่งเลย พระบาลีได้ตรัสไว้อีกว่า กุศลธรรมา อกุศลธรรมา กุศลธรรมา คือ กุศลดีที่สุด เป็นคุณความดีประเสริฐที่สุด ซึ่งเป็นกุศลติดตามผู้ทำคุณความดีอันเป็นบุญเป็นกุศล อยู่ในกุศลธรรมานี้เอง เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ มันก็อยู่ กับเราทำให้เรามีความสุข เมื่อเราตายไปแล้วมันก็จะตามเราไปส่งผลให้เราไปถึงสวรรค์นิพพาน ถ้าหากเรากลับมาเกิดอีก มันก็จะตามส่งผลให้เราได้ เกิดเป็นมนุษย์บริบูรณ์ เป็นมนุษย์สานัง นั่นละคือ กุศลธรรมา ส่วนอกุศลธรรมา ก็คือผลกรรมเลว เมื่อเรากลับมาเกิดมันก็จะตามมาให้ผลเหมือนกัน ผลที่ได้รับคือ เป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ ตัวอย่างที่เราเห็นอยู่ มนุษย์ไม่สมบูรณ์เป็นอย่างไร คำนี้อาตมาขอไม่อธิบาย ท่านคงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว ผู้ที่ทำความ เลวอันเป็นบาป คือ อกุศลธรรมา เมื่อตายไปแล้วมันก็ตามไปให้ผลเหมือนกัน คือ ไปเสวยผลกรรม อยู่ที่นรกอเวจีกะภูมิ คือ เป็นเปรตสุรกาย ครึ่งผีครึ่งคน และสัตว์ คนก็ไม่ใช่ผีก็ไม่เชิง สัตว์ก็ไม่แท้ แน่นอนก็คือเปรตอสุรกาย อาตมาจึงฝากไว้กับท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ผู้ที่เจริญแล้วจงใคร่ครวญเอา ว่าควรจะทำ กุศลธรรมา หรือจะทำอกุศลาธรรมา จงตัดสิน และเลือกเอาว่าจะเอาทางไหน แล้วก็เริ่มต้นละความเลว ถ้าไม่ละความเลวเสีย ก็ทำความ ดีไม่ได้ เพราะอะไร? เพราะติดอยู่ในความเลวยังละเสียไม่ได้ ความดีจึงไม่เกิดขึ้น
ดังนั้น ธรรมะทั้งหลายที่ได้กล่าวมาจึงเป็น สิ่งที่เกื้อกูลต่อชีวิตมนุษย์ ถ้าหากว่า เรามนุษย์ทั้งหลายรู้จักหลักพระธรรมคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระ ภาคและเอามาปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว ชีวิตย่อมมีคุณค่า คำที่ว่าคุณค่าของมนุษย์ คืออะไร คือความเป็นจริง ความเป็นจริงนี้เป็นของธรรมชาติ มีมาก่อน คำว่าธรรมชาติ ยืนอยู่ก็เป็นธรรมชาติ ลืมตาก็เป็นธรรมชาติ เดิน นั่ง ก็เป็นธรรมชาติ กิริยาอาการทั้งหลายเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกื้อกูลต่อชีวิต ถ้าหากว่าไม่มี ธรรมชาติแล้ว คือเมื่อลืมตาดู ก็ไม่รู้ว่าดูอะไร รับฟังอยู่ก็ไม่รู้ว่าฟังเรื่องอะไร ยืนขึ้นมาจะเดินก็ไม่รู้ว่าจะเดินไปไหน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ พระพุทธเจ้าท่าน ได้แสดงไว้ว่า ธรรมชาติก็มาจากธรรมนี่เอง ไม่ได้มาจากที่อื่น
ดังนั้นอาตมาจึงขอให้ท่านทั้งหลาย ได้เข้ามาศึกษาปฏิบัติธรรมตามแนวทางของทางพระพุทธศาสนา ท่านควรเข้าใจให้ดี คำที่ว่าศาสนาคืออะไร เมื่อท่านได้ปฏิบัติแล้ว ท่านได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทน ศาสนาคือแสงสว่าง ทำให้เรารู้เห็นทางเดินไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งชีวิต ชีวิตนี้เป็นของเรา ไม่ใช่ ของคนอื่น สมดังพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า อาตมารักสัตว์โลกมากที่สุด แต่อาตมาขอให้เขาเหล่านั้น จงรักตัวเขาให้มาก มากที่สุดเท่าที่เขา จะรักได้ เพราะอะไร เพราะชีวิตของตถาคต และสัตว์โลกแต่ละชีวิตไม่ได้เหมือนกัน

0 comments:

Post a Comment

back to top